Search for:
  • Home/
  • Games News/
  • ยูเครนเดินสายเยือนชาตินาโต ขอเสียงสนับสนุนรับเข้าเป็นสมาชิก

ยูเครนเดินสายเยือนชาตินาโต ขอเสียงสนับสนุนรับเข้าเป็นสมาชิก

การประชุมสุดยอดนาโตที่จะจัดขึ้นในวันที่ 11-12 กรกฎาคมนี้ จะมีความสำคัญมากที่สุดครั้งหนึ่งเพราะเกิดขึ้นในวันที่ภูมิรัฐศาสตร์ในยุโรปเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสงครามในยูเครน หนึ่งในวาระสำคัญที่สุดของการหารือในการประชุมนาโตประจำปี 2023 คือ การรับสมาชิกใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสวีเดนที่ยังรอตุรกีและฮังการีให้สัตยาบันรับเข้าเป็นสมาชิกใหม่ หรือยูเครนที่ต้องการเข้าเป็นสมาชิกนาโตแม้จะยังอยู่ในภาวะสงคราม

นาโตเสียงแตกรับ “ยูเครน” เป็นสมาชิกหวั่นสงครามขยายวง

ประธานาธิบดียูเครน เตือนรัสเซียอาจวางระเบิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในยูเครน

โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครน ได้เดินสายเยือนหลายชาติสมาชิกนาโตในยุโรปเพื่อขอเสียงสนับสนุนรับยูเครนเข้าเป็นสมาชิกนาโต ท่าทีน่าสนใจที่สุดมาจากเรเจพ เทยิพ แอร์โดอาน ประธานาธิบดีตุรกี ที่สนับสนุนยูเครนอย่างชัดเจนให้เข้าเป็นสมาชิกนาโต

เมื่อคืนที่ผ่านมา ผู้นำยูเครนได้ให้สัมภาษณ์ว่าการยินยอมให้ยูเครนเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโตคือ การส่งสัญญาณไปยังรัสเซียว่า นาโตไม่เกรงกลัวรัสเซีย ผู้นำยูเครนระบุเสริมว่า เป้าหมายสำคัญที่เขาต้องบรรลุให้ได้ระหว่างเข้าร่วมประชุมนาโตที่จะเกิดขึ้นในวันอังคารและพุธนี้คือ การได้รับคำมั่นสัญญาและหลักประกันที่ชัดเจนว่า ยูเครนจะสามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโตได้ โดยที่ผ่านมาเขาได้เดินทางพูดคุยกับพันธมิตรหลายประเทศเรียบร้อยแล้ว และจะทำทุกทางเพื่อให้กระบวนการรับยูเครนเป็นสมาชิกนาโตเริ่มขึ้นให้ได้

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้วหรือเพียง 1 สัปดาห์ก่อนที่การประชุมใหญ่ประจำปีขององค์การนาโตที่เมืองวิลนีอุส ประเทศลิทัวเนียจะเปิดฉาก ประธานาธิบดีเซเลนสกีได้เดินสายหาเสียงสนับสนุนจากชาติสมาชิกนาโต เช่น บัลแกเรีย สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย และตุรกี เพื่อเริ่มกระบวนการรับยูเครนเข้าเป็นชาติสมาชิก

โดยการเยือนตุรกีครั้งล่าสุดของผู้นำยูเครนเกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา ที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี ซึ่งประธานาธิบดีเซเลนสกีได้เข้าพบกับประธานาธิบดีแอร์โดอานของตุรกีเพื่อพูดคุยเรื่องการรับยูเครนเข้าเป็นสมาชิกนาโต โดยผู้นำตุรกีได้พูดชัดเจนว่ายูเครนสมควรเข้าเป็นสมาชิกนาโต ท่าทีเช่นนี้ทำให้หลายฝ่ายออกมาตั้งข้อสังเกตว่า ตุรกีพยายามจะส่งสัญญาณใดหรือไม่ เพราะที่ผ่านมา ตุรกีมักจะวางตัวเป็นกลางและรับบทเป็นผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างรัสเซียและยูเครนเป็นหลัก มากกว่าที่จะแสดงจุดยืนสนับสนุนฝ่ายใดโดยชัดเจน

ประเด็นนี้นักวิเคราะห์มองว่าเป็นการ balancing act หรือการสร้างสมดุลระหว่างชาติตะวันตกกับรัสเซีย เพราะการประกาศสนับสนุนยูเครนเข้าเป็นสมาชิกนาโตของตุรกี เป็นการปกป้องตนเองจากข้อครหาของชาติตะวันตกว่าสนับสนุนรัสเซีย เนื่องจากที่ผ่านมา ตุรกีถือเป็นประเทศที่ไม่คว่ำบาตรรัสเซีย เพราะมีผลประโยชน์ทางการค้าร่วมกันมหาศาล

แอตแลนติก เคาน์ซิล สถาบันวิจัยด้านการต่างประเทศของสหรัฐฯ ระบุว่า ในช่วงเดือนมีนาคม ปี 2022 หลังเกิดสงครามยูเครน ถึงเดือนมีนาคมปีนี้ การส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากตุรกีไปยังรัสเซียเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 85

ก่อนหน้าที่จะพบกับผู้นำตุรกี ประธานาธิบดีเซเลนสกีได้พบกับประธานาธิบดี ปีเตอร์ พาเวลของสาธารณรัฐเช็ก และนายกรัฐมนตรี นิโคไล แดนคอฟของบัลแกเรียมาแล้ว เพื่อหาการสนับสนุนที่ชัดเจนจากประเทศสมาชิกนาโต ที่กำลังจะจัดการประชุมในวันพรุ่งนี้และวันพุธที่กรุงวิลนีอุส ประเทศลิทัวเนีย

การเดินสายพบผู้นำชาติสมาชิกนาโตของประธานาธิบดียูเครนเป็นไปได้ด้วยดี โดย บัลแกเรีย สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกียและตุรกียินดีจะช่วยเหลือยูเครนเข้าเป็นสมาชิกนาโต หลังสงครามสิ้นสุดลง ตอนนี้ มีรายงานว่าสมาชิกนาโตไม่น้อยกว่า 23 ประเทศจากทั้งหมด 31 ประเทศสนับสนุนให้ยูเครนเป็นสมาชิกนาโต ชาติที่แข็งขันที่สุดคือชาติที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา ซบิกเนียฟ เรา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศโปแลนด์ ซึ่งอยู่ระหว่างการเยือนกรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักร แถลงข่าวประกาศชัดเจนว่าจะช่วยยูเครนให้เตรียมพร้อมเข้าเป็นสมาชิกนาโตให้ได้ ส่วนกิตานาส นาวเซดา ประธานาธิบดีลิทัวเนีย เจ้าภาพในการประชุมสุดยอดผู้นำนาโตปีนี้ให้สัมภาษณ์พิเศษเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาว่า นาโตไม่ควรลังเลในการตัดสินใจในการรับยูเครนเข้าเป็นสมาชิก เพราะไม่เช่นนั้นจะถูกมองว่าชาติพันธมิตรตะวันตกอ่อนแอ และนาโตควรให้ถ้อยคำหรือสัญญาที่หนักแน่นว่ายูเครนจะเป็นสมาชิกได้เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับทหารยูเครนที่กำลังทำสงครามอยู่ในขณะนี้

ตั้งแต่วันแรกที่เกิดการรุกรานยูเครนจนถึงวันนี้ จะเห็นได้ว่ากลุ่มประเทศที่สนับสนุนยูเครนและเป็นผู้นำช่วยเหลือยูเครนในเกือบทุกเรื่องคือ ประเทศโปแลนด์และรัฐแถบทะเลบอลติก อย่างเอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย

วาเลีย ซาเลฟกา นักวิจัยจาก Transparency International Ukraine มองว่าปัจจัยที่ทำให้รัฐบอลติกสนับสนุนยูเครน มาจากหลายปัจจัย ปัจจัยแรก ชาติบอลติกเหล่านี้เคยมีประสบการณ์ที่เลวร้ายจากการปกครองของระบบคอมมิวนิสต์ที่มีสหภาพโซเวียตเป็นแกนนำ เช่น การรุกรานและฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในรัฐบอลติกโดยสหภาพโซเวียตและเยอรมนีในปี 1940-1941 หรือการปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงในเหตุการณ์ปฏิวัติการร้องเพลง หรือ Singing Revolution ในปี 1987-1991

ปัจจัยที่สอง ชาติบอลติกเหล่านี้กังวลว่าสงครามที่เกิดขึ้นในยูเครนอาจลุกลามมายังประเทศของตนเอง หากรัสเซียชนะ เนื่องจากประเทศเหล่านี้ เช่น โปแลนด์ มีพรมแดนติดกับยูเครนและแคว้นคาลินินกราด ลิทัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย มีพรมแดนบางส่วนติดกับเบลารุส แคว้นคาลินินกราด รวมถึงแผ่นดินใหญ่ของรัสเซีย อย่างไรก็ดี ยังมีประเทศนาโตอีกหลายประเทศที่ยังไม่ตอบรับยูเครนเข้าเป็นสมาชิกท่ามกลางภาวะสงคราม โดยเฉพาะประเทศหลักอย่าง สหรัฐฯ และเยอรมนี ที่ออกมาแสดงท่าทีค่อนข่างชัดเจนว่ายูเครนอาจต้องรอต่อไปก่อน

โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับประเด็นการเข้าเป็นสมาชิกนาโตของยูเครน ก่อนที่จะเดินทางเยือนสหราชอาณาจักร ลิทัวเนีย และฟินแลนด์ สามชาติสมาชิกนาโต โดยผู้นำสหรัฐฯ กล่าวว่ายูเครนยังไม่พร้อมเข้าเป็นสมาชิกนาโตในตอนนี้ โดยชาติสมาชิกนาโตต้องรอให้สงครามที่กำลังดำเนินอยู่ตอนนี้จบลงก่อน เนื่องจากถ้ายูเครนเข้ามาเป็นสมาชิกตอนนี้ ชาตินาโตทั้งหมดต้องปกป้องยูเครนตามพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรนาโต และจะนำไปสู่การเผชิญหน้าระหว่างรัสเซียโดยตรง อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีไบเดนกล่าวว่าเขาได้หารือประเด็นการเข้าเป็นสมาชิกนาโตกับผู้นำยูเครนอยู่เป็นระยะๆ พร้อมยืนยันว่า

สหรัฐฯ จะยังคงรักษาความปลอดภัยและมอบอาวุธยุทโธปกรณ์แก่ยูเครนในระหว่างที่ยูเครนรอเข้าเป็นสมาชิกนาโต เพื่อให้ยูเครนสามารถปกป้องตนเองได้ ซึ่งคล้ายกับที่สหรัฐฯ ช่วยเหลืออิสราเอล นอกจากนี้ ผู้นำสหรัฐฯ จะวางเส้นทางเพื่อให้ยูเครนมีคุณสมบัติเพียบพร้อมตามข้อกำหนดในการเข้าเป็นสมาชิกนาโต เช่น การเป็นประเทศประชาธิปไตยและความโปร่งใสในประเทศ รวมถึงการทุ่มงบประมาณทางการทหารตามเกณฑ์ที่นาโตกำหนด

อย่างไรก็ดี ผู้นำสหรัฐฯ ย้ำหนักแน่นว่าจะช่วยเหลือด้านอาวุธยูเครนต่อไป เพื่อให้ยูเครนสามารถจบสงครามที่เพิ่งจะครบ 500 วันไปเมื่อวานนี้ หนึ่งในหลักฐานที่อาจเป็นหลักประกันได้ว่า คำมั่นสัญญาของสหรัฐฯ อาจยังไม่เปลี่ยนไป คือการส่งอาวุธต้องห้ามอย่างระเบิดลูกปรายให้แก่ยูเครนเพื่อรับมือกับรัสเซีย ท่ามกลางการโต้กลับที่เป็นไปได้ช้ากว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ แม้หลายฝ่ายจะไม่เห็นด้วย

สาเหตุที่หลายฝ่ายไม่เห็นด้วยกับการส่งกระสุนระเบิดลูกปรายไปให้ยูเครน เป็นเพราะกระสุนชนิดนี้อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อพลเรือนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง และอัตราการตกมีความคาดเคลื่อนสูง นอกจากนี้ ระเบิดขนาดเล็กที่ปล่อยออกมายังมีอัตราการไม่ระเบิดสูง โดยเฉพาะเมื่อตกลงในพื้นดินโคลนที่มีน้ำขังหรือพื้นทราย ซึ่งหากระเบิดไม่ทำงานและมีประชาชนมาสัมผัสอาจเกิดระเบิดขึ้นจนทำให้เสียชีวิตได้ ไม่ต่างจากกับดักระเบิดที่ฝังอยู่ตามพื้นดิน

 ยูเครนเดินสายเยือนชาตินาโต ขอเสียงสนับสนุนรับเข้าเป็นสมาชิก

แต่ประเด็นที่สำคัญกว่านั้นคือ กระสุนระเบิดลูกปรายมีสถานะเป็นอาวุธต้องห้ามภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยระเบิดลูกปราย หรือ Convention on Cluster Munitions หรือ CCM ที่ถูกตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2008 แต่มีผลบังคับใช้ในปี 2010 อนุสัญญาฉบับนี้ห้ามประเทศที่ลงนาม 123 ประเทศ ใช้ สะสม ผลิต หรือโอน รวมทั้งต้องทำลายกระสุนระเบิดลูกปรายที่มีในคลังทิ้งทั้งหมด

ประธานาธิบดีไบเดนได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นว่า การตัดสินใจส่งกระสุนระเบิดลูกปรายให้ยูเครนเป็นการตัดสินใจที่ยาก แต่จำเป็นต้องทำเพราะยูเครนจำเป็นต้องใช้กระสุนชนิดนี้สู้รบ

อย่างไรก็ดี สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า มาร์การิตา โรเบิลส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสเปน ได้ระบุเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า สหรัฐฯ ไม่ควรส่งกระสุนระเบิดลูกปรายให้ยูเครน เนื่องจากเป็นอันตรายต่อพลเรือน ส่วนสาเหตุที่สเปนออกมาปรามสหรัฐฯ เช่นนี้ เป็นเพราะสเปนเป็นหนึ่งในภาคีตามอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดลูกปราย นอกจากนี้ สเปนยืนยันชัดเจนว่าจะไม่ส่งกระสุนระเบิดชนิดนี้ไปให้ยูเครน เพราะการตัดสินใจดังกล่าวของสหรัฐฯ เป็นการตัดสินใจของรัฐบาล ไม่ใช่การตัดสินใจของชาตสมาชิกนาโต สเปนจึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

เมื่อกระสุนระเบิดลูกปรายเป็นอาวุธต้องห้ามที่อันตราย เหตุใดยูเครนจึงร้องขออาวุธชนิดนี้กับสหรัฐฯ นักวิเคราะห์มองว่า ตอนนี้กองทัพยูเครนขาดแคลนกระสุนและอาจใช้กระสุนชนิดนี้ระงับการโจมตีของทหารรัสเซียที่อยู่ในสนามเพลาะ เพื่อซื้อเวลาให้หน่วยเก็บกู้ระเบิด สามารถเก็บกู้ระเบิดตามทุ่ง ปูทางให้ทหารราบยูเครนสามารถบุกเข้าไปในฐานที่มั่นรัสเซียได้อย่างปลอดภัย

อย่างไรก็ดี พันเอกมาร์ก แคนเซียน อดีตทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯ ที่ปรึกษาอาวุโสประจำศูนย์ยุทธศาสตร์และนานาชาติศึกษา (CSIS) ระบุว่า กระสุนระเบิดลูกปรายชนิดนี้มีประสิทธิภาพ แต่ยูเครนอาจต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากกระสุนที่ไม่ระเบิดอาจส่งผลกระทบต่อประชาชน ขณะเดียวกัน อดีตนายทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯ รายนี้ย้ำว่า กระสุนระเบิดลูกปรายไม่ใช่อาวุธเปลี่ยนเกมแต่อย่างใด